แนวคิดและปรัชญาทางการศึกษา


ความหมายของปรัชญา
            ปรัชญามีความหมายกว้างขวาง เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความคิดของบุคคลและมีลักษณะเป็นนามธรรม การที่จะให้ความหมายของคำว่าปรัชญาที่แน่นอนจึงเป็นเรื่องยาก แต่นักปราชญ์และ    นักคิดได้พยายามให้ความหมายของปรัชญาไว้มากมาย ซึ่งความหมายหนึ่งอาจเป็นที่ยอมรับของคนกลุ่มหนึ่ง แต่อาจไม่เป็นที่ยอมรับของคนอีกกลุ่มหนึ่ง สุดแล้วแต่ว่าบุคคลใดจะมีมุมมองอย่างไร
            การพิจารณาความหมายขชองคำว่า ปรัชญา แยกพิจารณาอกกเป็น 2 นับ คือความหมายตามรูปศัพท์ และความหมายโดยอรรถ (อรสา สุขเปรม 2541 : 55-74 ; วิไล ตั้งจิตสมคิด 2540)

 1.    ความหมายตามรูปศัพท์
                  คำว่า Philosophy ตามรูปศัพท์ภาษาอังกฤษ ผู้ที่นำมาใช้ คือ ไพทากอรัส (Pythagoras) เป็นผู้เริ่มใช้คำนี้เป็นครั้งแรก มาจากภาษากรีกว่า Philosophy เป็นคำสนธิระหว่างคำว่า Philos แปลว่า ความรัก ความสนใจ ความเลื่อมใส กับคำว่า Sophia ซึ่งแปลว่า ความรู้ ความสามารถ ความฉลาด ปัญญา เมื่อรวม 2 คำเข้าด้วยกัน ก็จะได้คำแปลว่าความรักในความรู้ ความรักในความฉลาด หรือความรักในความปราดเปรื่อง (Love of Wisdom) ความหมายตาม       รูปศัพท์ภาษาอังกฤษเน้นที่ทัศนคติ นิสัยและความตั้งใจ และกระบวนการแสวงหาความรู้
                  คำว่าปรัชญา ในภาษาไทยเป็นคำที่พระวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ทรงบัญญัติขึ้นใช้แทนคำว่า Philosophy ในภาษาอังกฤษ เป็นการบัญญัติเพื่อให้มีคำภาษาไทยว่า ปรัชญา ใช้คำว่าปรัชญา เป็นคำในภาษาสันสกฤต ประกอบด้วยรูปศัพท์  2 คำ คือ ปร ซึ่งแปลว่า ไกล สูงสุด ประเสริฐ และคำว่า ชญา หมายถึงความรู้ ความเข้าใจ เมื่อรวมกันเป็นคำว่าปรัชญา     จึงหมายถึงความรู้อันประเสริฐ เป็นความรอบรู้ รู้กว้างขวาง ความหมายตามรูปศัพท์ในภาษาไทยเน้นที่ตัวความรู้หรือผู้รู้ ซึ่งเป็นความรู้ที่กว้างขวาง ลึกซึ้ง ประเสริฐ (ไพฑูรย์  สินลารัตน์ 2524 : 2)
                  จะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างกันในความแตกต่างกันในความหมายของคำว่า Philosophy และปรัชญา Philosophy เป็นความรักในความรู้ อยากที่จะแสวงหาความรู้ หรืออยากค้นหาความจริงอันนิรันดร์ (Ultimate reality) เพื่อให้พ้นไปจากความสงสัยที่มีอยู่ ส่วนคำว่า ปรัชญา เป็นความรู้อันประเสริฐเป็นสิ่งที่เกิดจากการแสวงหาความรู้จนพ้นข้อสงสัยแล้วก็นำไปปฏิบัติเพื่อให้มนุษย์หลุดพ้นจากปัญหาทั้งปวง นำไปสู่ความสุขที่พึงประสงค์               
            2.  ความหมายโดยอรรถ
                  นักปรัชญา และนักคิดได้อธิบายถึงความหมายของ ปรัชญาถือว่าเป็นศาสตร์ของศาสตร์ทั้งหลาย ซึ่งหมายถึงว่าปรัชญาเป็นวิชาแม่บทของวิชาการแขนงอื่นๆ และมีความสัมพันธ์กับวิชาทุกๆสาขาด้วย (บรรจง จันทร์สา 2522 : 3) ปรัชญาจะทำหน้าที่สืบค้นเรื่องราวต่างๆที่มนุษย์ยังไม่รู้และสงสัย จนกระทั่งรู้ความจริงและมีคำตอบของตนเองอย่างชัดเจนในเรื่องราวนั้น ก็จะแยกตัวเป็นวิชาหรือศาสตร์ต่างหากออกไป วิชาที่แยกตัวออกไปเป็นวิชาแรกคือ ศาสนา  จากนั้นก็มีการพัฒนาวิชาอื่นๆกลายเป็นศาสตร์ต่างๆมากมาย เมื่อมีศาสตร์พัฒนาออกไปมาก  เนื้อหาของปรัชญาก็ไม่ค่อยมี แต่ปรัชญาจะทำหน้าที่ในการนำเนื้อหาของศาสตร์ต่างๆมาวิเคราะห์   หาความสัมพันธ์ และหาทางพัฒนาศาสตร์นั้น เพื่อให้ไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ
                  ถ้ามอง ปรัชญาในอีกลักษณะหนึ่ง อาจกล่าวได้ว่า ได้มีการนำเอาแนวคิดพื้นฐานของปรัชญามาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับวิชาต่างๆ เพื่อะวิเคราะห์ศาสตร์ต่างเหล่านั้นให้เกิดความเข้าใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น  ปรัชญาสังคม  ปรัชญาการเมือง  ปรัชญาศาสนา ฯลฯ
                  จากลักษณะของปรัชญาดังกล่าว ได้มีนักคิด  นักปรัชญา นักวิชาการได้พยายาม        ให้ความหมายของปรัชญาไว้แตกต่างกัน ดังนี้
                  2.1 ปรัชญา คือ ศาสตร์หนึ่งที่มีวัตถุประสงค์ที่จะจัดหมวดหมู่ หรือระบบความรู้สาขาต่างๆ เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือทำความเข้าใจและแปลความหมายข้อเท็จจริงต่างๆ อย่างสมบูรณ์แบบ ปรัชญาจะประกอบด้วยวิชา ตรรกวิทยา จริยศาสตร์ สุนทรีศาสตร์ อภิปรัชญาและศาสตร์    ที่ว่าด้วยความรู้ทั้งปวงของมนุษย์ (Good 1959 : 395)
                  2.2 ปรัชญาคือ ความคิดเห็นใดที่ยังพิสูจน์ไม่ได้ หรือยังสรุปผลแน่นอนไม่ได้ แต่ถ้าพิสูจน์ได้จนลงตัวแล้วก็จัดว่าเป็นศาสตร์ (จำนง ทองประเสริฐ 2524 : 2)
                  2.3 ปรัชญาคือ ศาสตร์ชนิดหนึ่ง ที่มีวัตถุประสงค์ที่จะจัดหมวดหมู่หรือแบบความรู้
สาขาต่างๆ เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องมือทำความเข้าใจและแปลความหมายข้อเท็จจริงต่างๆอย่าง
สมบูรณ์แบบ (ภิญโญ สาธร 2514: 21)
                        ความหมายของคำว่าปรัชญามีผู้ให้ทัศนะไว้อีกมากมายและจะมีความแตกต่างกันตามลักษณะของปรัชญาแต่ละยุคแต่ละสมัยและตามทัศนะของบุคคล นักปราชญ์บางท่าน   อาจจะกล่าวว่า ปรัชญานั้นหาคำตอบไม่ได้ สรุปว่าปรัชญาจะมีลักษณะดังนี้
                        1)   ทำหน้าที่รวบรวมรายละเอียดต่างๆ ของโลกและชีวิตไว้ทั้งหมด
                        2)   พยายามหาคำตอบที่เป็นความจริงที่เป็นนิรันดร์ สามารถอธิบายสิ่งต่างๆ         ที่เกิดขึ้นได้
                        3)   ใช้วิธีการทางตรรกวิทยาในการค้นหาความจริง ซึ่งเป็นวิธีการคิดอย่างมีเหตุและผล
                        4)   เนื้อหาของปรัชญาจะเปลี่ยนแปลงไปตามยุค ตามสมัย แล้วแต่ว่าจะสนใจที่จะศึกษาในเรื่องใดหรือปัญหาใด อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ
อ้างอิง  อาจารย์มณี  เหมทานนท์





สาขาของปรัชญา 
            ปรัชญาแบ่งออกเป็น 3 สาขา คือ
          1.  อภิปรัชญา  (Metaphysics) ปรือ ภววิทยา (Onthology) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับความจริง (Reality) เพื่อค้นหาความจริงอันเป็นที่สูงสุด (Ultimate reality) ได้แก่ความจริงที่เกี่ยวกับธรรมชาติ จิตวิญญาณ รวมทั้งเรื่องของพระเจ้า อันเป็นบ่อเกิดของศาสนา
          2.  ญาณวิทยา (Epistemology) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องความรู้ (Knowledge) ศึกษาธรรมชาติของความรู้ บ่อเกิดของความรู้ ขอบเขตของความรู้ ซึ่งความรู้อาจจะได้มาจากแหล่งต่างๆ เช่น จากพระเจ้าประธานมาซึ่งงปรากฏอยู่ในคัมภีร์ของศาสนาต่างๆจากผู้เชี่ยวชาญที่ทำการศึกษาค้นคว้าปรากฏในตำรา เกิดจากการหยั่งรู้เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นมาในทันทีทันใด เช่นพระพุทธเจ้าตรัสรู้ หรือเป็นความรู้ที่เกิดจากการพิจารณาเหตุและผล หรือได้จากการสังเกต
            3.  คุณวิทยา (Axiology) ศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับคุณค่าหรือค่านิยม (Value) เช่น คุณค่าเกี่ยวกับความดีและความงาม มีอะไรเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาว่าอย่างไรดี อย่างไรงาม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
                  3.1 จริยศาสตร์ (Ethics) ได้แก่คุณค่าแห่งความประพฤติ หลักแห่งความดี ความ    ถูกต้อง เป็นคุณค่าแห่งจริยธรรม เป็นคุณค่าภายใน
                  3.2 สุนทรียศาสตร์ (Anesthetics) ได้แก่คุณค่าความงามทางศิลปะ  ซึ่งสัมพันธ์กับ
จิตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งตัดสินได้ยากและเป็นอัตนัย เป็นคุณค่าภายนอก





ปรัชญาพื้นฐาน
             ปรัชญาพื้นฐาน หรือปรัชญาทั่วไป เมื่อพิจารณาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการศึกษามีลัทธิ  ได้แก่
            1.  ลัทธิจิตนิยม (Idialism)
                  เป็นลัทธิปรัชญาที่เก่าแก่ที่สุดในบรรดาปรัชญาต่างๆมีกำเนิดพร้อมกับการเริ่มต้นของปรัชญา ปรัชญาลัทธินี้ถือเรื่องจิตเป็นสิ่งสำคัญ มีความเชื่อว่าสิ่งที่เป็นจริงสูงสุดนั้นไม่ใช่วัตถุหรือตัวตน แต่เป็นเรื่องของความคิดซึ่งอยู่ในจิต (Mine)  สิ่งที่เราเห็นหรือจับต้องได้นั้น ยังไม่ความจริงที่แท้ความจริงที่แท้จะมีอยู่ในโลกของจิต (The world of mind) เท่านั้น ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นบิดาของแนวความคิดลัทธิปรัชญานี้ คือ พลาโต (Plato) นักปรัชญาเมธีชาวกรีก ซึ่งมีความเชื่อว่าการศึกษาคือการพัฒนาจิตใจมากกว่าอย่างอื่น
                  ถ้าพิจารณาลัทธิปรัชญาลัทธิจิตนิยมในแง่สาขาของปรัชญา แต่ละสาขาจะได้ดังนี้
                 1.1 อภิปรัชญา ถือว่าเป็นจริงสูงสุดเป็นนามธรรมมากกว่ารูปธรรม ต้องพัฒนาคน     ในด้านจิตใจมากกว่าวัตถุ
                 1.2 ญาณวิทยา ถือว่าความรู้เกิดจากความคิดหาเหตุผล และการวิเคราะห์แล้วสร้างเป็นความคิดในจิตใจ ส่วนความรู้ที่ได้จากการสัมผัสด้วยประสาททั้ง 5 ไม่ใช่ความรู้ที่แท้จริง
                 1.3 คุณวิทยา ถือว่าคุณค่าความดีความงามมีลักษณะตายตัวคงทนถาวร                  ไม่เปลี่ยนแปลง ในด้านจริยศาสตร์ ศีลธรรม จริยธรรมจะไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนสุนทรียศาสตร์นั้น การถ่ายทอดความงาม เกิดจากความคิดสร้างสรรค์และอุดมการณ์อันสุงส่ง
                  สรุปว่า ปรัชญาลัทธิจิตนิยมเป็นการพัฒนาด้านจิตใจ ส่งเสริมการพัฒนาทางด้าน คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะต่างๆ การจัดการศึกษาตามแนวจิตนิยมจึงเน้นในด้านอักษรศาสตร์และศิลปะศาสตร์ เป็นผู้มีความรอบรู้โดยเฉพาะตำรา การเรียนการสอนมักจะใช้ห้องสมุดเป็นแหล่ง  ค้นคว้าและถ่ายทอดเนื้อหาวิชาสืบต่อกันไป
          2.  ลัทธิวัถุนิยม หรือสัจนิยม (Realism)
              เป็นลัทธิปรัชญาที่มีความเชื่อในโลกแห่งวัตถุ (The world of things) มีความเชื่อ                ในแสวงหาความจริงโดยจิตตามแนวคิดของจิตนิยมอย่างเดียวไม่พอ ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงตามธรรมชาติด้วย ความจริงที่แท้คือ วัตถุที่ปรากฏต่อสายตา สามารถสัมผัสได้ สิ่งเหล่าวนี้เป็นพื้นฐานของการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ บิดาของลัทธินี้คือ อริสโตเติล (Aristotle) นักปราชญ์ชาวกรีกลัทธิปรัชญาสาขานี้เป็นต้นกำเนิดของการศึกษาทางงด้านวิทยาศาสตร์
                  ถ้าพิจารณาปรัชญาลัทธิวัตถุนิยมในแง่สาขาของปรัชญา จะได้ดังนี้
                  2.1 อภิปรัชญามีความเชื่อว่า ความจริงมาจากธรรมชาติ ซึ่งประกอบสิ่งที่เป็นวัตถุ
สามารถสัมผัสจับต้องได้ และพิสูจน์ได้ด้วยวิธีวิทยาศาสตร์
                  2.2 ญาณวิทยา เชื่อว่าธรรมชาติเป็นบ่อเกิดของความรู้ทั้งมวลความรู้ได้มาจากการได้เห็นได้สัมผัสด้วยประสาทสัมผัส ถ้าสังเกตไม่ได้มองไม่เห็น ก็ไม่เห็นว่าเป็นความรู้ที่แท้จริง
                  2.3 คุณวิทยา เชื่อว่าธรรมชาติสร้างทุกสิ่งทุกอย่างมาดีแล้ว ในด้านจริยศาสตร์ก็ควรประพฤติปฏิบัติตามกฎธรรมชาติ กฎธรรมชาติก็คือศีลธรรมจรรยา ขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งใช้ควบคุมพฤติกรรมมนุษย์ ส่วนสุนทรีศาสตร์เป็นเรื่องของความงดงามตามธรรมชาติสะท้อนความงามตามธรรมชาติออกมา
                  สรุปว่า ปรัชญาลัทธิจิตนิยม เน้นความเป็นจริงตามธรรมชาติ การศึกษาหาความจริงได้จากการสังเกต สัมผัสจับต้อง และเชื่อในกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ การศึกษาในแนวลัทธิจิตนิยมเน้นวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้นกำเนิดของวิชาวิทยาศาสตร์
            3.  ลัทธิประสบการณ์นิยม (Experimentalism)
              เป็นปรัชญาที่มีชื่ออีกอย่างหนึ่งงว่า ปฏิบัตินิยม (Pragmatism) ปรัชญากลุ่มนี้มีความสนใจในโลกแห่งประสบการณ์ ฝ่ายวัถุนิยมจะเชื่อในความเป็นจริงเฉพาะสิ่งที่มนุษย์พบเห็นได้เป็นธรรมชาติที่ปราศจากการปรุงแต่งเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ ส่วนประสบการณ์นิยมมิได้หมายถึงสิ่งที่เราพบเห็นในชีวิตประจำวันเท่านั้น แต่หมายรวมถึงสิ่งที่มนุษย์กระทำ คิด และรู้สึก รวมถึงการคิดอย่างใคร่ครวญและการลงมือกระทำ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในผู้กระทำ กระบวนการทั้งหมด             ที่เกิดขึ้นครบถ้วนแล้ว จึงเรียกว่าเป็น ประสบการณ์ ความเป็นจริงหรือประสบการณ์สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามเงื่อนไขแห่งประสบการณ์ บุคคลที่เป็นผู้นำของความคิดนี้ คือ วิลเลียม เจมส์ (William, James) และจอห์น ดิวอิ้ (John Dewey) ชาวอเมริกัน วิลเลียม เจมส์ มีความเห็นว่าประสบการณ์และการปฏิบัติเป็นสิ่งสำคัญส่วนจอห์น ดิวอิ้  เชื่อว่ามนุษย์จะได้รับความรู้เกี่ยวกับ    สิ่งต่างๆจากประสบการณ์เท่านั้น
                  ถ้าพิจารณาปรัชญาลัทธิประสบการณ์นิยมในแง่ของสาขาของปรัชญาจะได้ดังนี้
                  3.1 อภิปรัชญา เชื่อว่าความจริงเป็นโลกแห่งประสบการณ์ สิ่งใดที่ทำให้สามารถได้รับประสบการณ์ได้ สิ่งนั้นคือความจริง
                  3.2 ญาณวิทยา เชื่อว่าความรู้จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการลงมือปฏิบัติ กระบวนการแสวงหาความรู้ก็ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific method)
                  3.3 คุณวิทยา เชื่อว่าความนิยมจะเกี่ยวกับการประพฤติปฏิบัติทางด้านศีลธรรม จรรยาเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างและกำหนดขึ้นมาเอง และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ส่วนสุนทรียศาสตร์ เป็นเรื่องของความต้องการและรสนิยมที่คนส่วนใหญ่ยอมรับกัน
                  สรุปว่า ปรัชญาลัทธิประสบการณ์นิยม เน้นให้คนอาศัยประสบการณ์ในการแสวงหา
ความเป็นจริงและความรู้ต่าง ๆ  ได้มาจากประสบการณ์  การศึกษาในแนวลัทธิปรัชญานี้เน้นการลง
มือกระทำเพื่อหาความจริงด้วยคำตอบของตนเอง
          4.  ลัทธิอัตถิภาวะนิยม (Existentialism)
                  เป็นลัทธิปรัชญาที่เกิดหลังสุด  มีแนวความคิดที่น่าสนใจและท้าทายต่อการแสวงหาของนักปรัชญาในปัจจุบัน (กีรติ  บุญเจือ  2522)
                  Existentialism มีความหมายตามศัพท์ คือ Exist แปลว่าการมีอยู่ เช่น ปัจจุบัน มีมนุษย์อยู่ก็เรียกว่า การมีมนุษย์อยู่หรือ Exist ส่วนไดโนเสาร์ไม่มีแล้ว ก็เรียกว่ามันไม่ Exist คำว่า Existentialism จึงหมายความว่า มีความเชื่อในสิ่งที่มีอยู่จริงๆ เท่านั้น (The world of existing)
                  หลักสำคัญปรัชญาลัทธินี้มีอยู่ว่า การมีอยู่ของมนุษย์มีมาก่อนลักษณะของมนุษย์ (Existence precedes essence) ซึ่งความเชื่อดังกล่าวขัดกับหลักศาสนาคริสต์ ซึ่งมีแนวความคิดว่า พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์และสรรพสิ่งในโลก ก่อนที่จะลงมือสร้างมนุษย์พระเจ้ามีความคิดอยู่แล้วว่า มนุษย์ควรจะเป็นอย่างไร ควรจะมีลักษณะอย่างไร ควรจะประพฤติปฏิบัติอย่างไร ทั้งหมดเป็นเนื้อหาหรือสาระ ลักษณะของมนุษย์มีมาก่อนการเกิดของมนุษย์ มนุษย์จะต้องอยูในภาวะจำยอมที่จะต้องปฏิบัติตามพระประสงค์ของพระเจ้า หมดเสรีภาพที่จะเลือกกระทำตามความต้องการของตนเอง
                  ปรัชญาลัทธิอัตถิภาวะนิยมไม่ยอมรับแนวคิดดังกล่าว มีความเชื่อเบื้องต้นว่า มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความว่างเปล่า ไม่มีลักษณะใด ๆ  ติดตัวมา ทุกคนมีหน้าที่เลือกลักษณะหรือสาระต่างๆ ให้กับตัวเอง การมีอยู่ของมนุษย์ (เกิด) จึงมีมาก่อนลักษณะของมนุษย์หลักสำคัญของปรัชญานี้จะให้ความสำคัญแก่มนุษย์มากที่สุด มนุษย์มีเสรีภาพในการกระทำสิ่งต่างๆได้ตามความพอใจและจะต้องรับผิดชอบในสิ่งที่เลือก
                  ถ้าพิจารณาลัทธิอัตถิภาวนิยมในแง่สาขาของปรัชญาจะได้ดังนี้
                  4.1 อภิปรัชญา ความจริงเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลจะพิจารณา และกำหนดว่าอะไรคือความจริง
                  4.2 ญาณวิทยา การแสวงหาความรู้ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลที่จะเลือกสรรเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
                  4.3 คุณวิทยา ทุกคนมีเสรีภาพที่จะเลือกค่านิยมที่ตนเองพอใจด้วยความสมัครใจส่วนความงามนั้นบุคคลจะเป็นผู้เลือกและกำหนดเอง โดยไม่จำเป็นจะต้องให้ผู้อื่นเข้าใจ
     สรุปว่า ปรัชญาลัทธิอัตถิภาวนิยม เป็นปรัชญาที่ให้ความสำคัญแก่มนุษย์ว่า            มีความสำคัญสูงสุด มีความเป็นตัวของตัวเอง สามารถเลือกกระทำสิ่งใดๆได้ตามความพอใจ แต่จะต้องรับผิดชอบในสิ่งที่กระทำ การศึกษาในแนวลัทธิปรัชญานี้จะให้ผู้เรียนมีอิสระในการแสวงหาความรู้ เลือกสิ่งต่างๆได้อย่างเสรี มีการกำหนดระเบียบกฎเกณฑ์ขึ้นมาเอง แต่ต้องรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม




0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น