วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556

พิธีกรรมไทอิสาน ตอน แต่งแก้เสียเคราะห์

พิธีกรรมแต่งแก้





ลักษณะความเชื่อ

        ความเป็นมา หลักฐานทางประวัติศาสตร์บอกว่า ก่อนนับถือพุทธศาสนาชาวไทยได้นับถือศาสนาพราหมณ์ อยู่แล้ว ศาสนาพราหมณ์สอนว่า มนุษย์ทุกคนเกิดมาจากอำนาจของพระพรหม ซึ่งเรียกว่า พรหมลิขิต ความเป็นไปของทุกชีวิตย่อมหนีพรหมลิขิตไม่ได้ ฉะนั้น เมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้นกับชีวิตก็หมายความว่า พระพรหมเป็นผู้บันดาลให้เป็นไป และมักจะมีลางสังหรณ์บอกไห้ทราบก่อนเสมอ มนุษย์จึงกระทำพิธีสวดอ้อนวอน สักการบูชาพระพรหมผู้เป็นเจ้าชีวิต เพื่อให้พระองค์โปรดปราน ไม่ให้ภัยพิบัติเกิดขึ้น หรืออย่างน้อยที่สุดก็อาจผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ ชาวไทยมีความเชื่อในเรื่องนี้อย่างแน่นแฟ้น จนภายหลังหันมานับถือพุทธศาสนาแล้วก็มิได้ละทิ้ง หากแต่ได้นำเอามารวมกันเข้ากับพิธีกรรมทางพุทธศาสนา นานเข้าเลยกลายเป็นอันเดียวกัน จนคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นพิธีกรรมของพุทธศาสนา

          เคราะห์ คือ สิ่งที่เกิดขึ้นกับชีวิตมนุษย์ มีทั้งเคราะห์ดีและเคราะห์ชั่ว สิ่งที่ดีเรียกว่า สุภเคราะห์ ไม่ดีเรียกว่า บาปเคราะห์ ก่อนที่บุคคลจะประสบเคราะห์ ไม่ว่าทางดีหรือทางชั่ว มักจะมีเครื่องหมายปรากฏให้เห็นก่อนเรียกว่า ลาง ลางที่บอกว่าจะมีเคราะห์ดีเช่น เห็นพระพุทธรูป พระสถูปเจดีย์ หรือเห็นพระเจ้า พระสงฆ์ และที่บอกว่าจะมีเคราะห์ร้าย เช่น เห็นบึ้ง เห็นงูทำทาน เห็นข้าวนึ่งแดง เป็นต้น เมื่อมีลางบอกเหตุในทางไม่ดีก็ต้องทำการเสียเคราะห์ หรือสะเดาะเคราะห์ การสะเดาะเคราะห์ต้องทำให้ถูกพิธี เคราะห์จึงจะหาย ถ้าทำไม่ถูกพิธีเคราะห์จะไม่หาย

การแต่งแก้

ปราชญ์พื้นบ้านอีสาน เชื่อว่าปีใดโชคชะตาไม่ดี อาจมีเคราะห์หรือชะตาขาด อาจพบกับภัยพิบัติต่างๆ ท่านให้เสียเคราะห์เสร็จแล้ว ให้แต่งแก้ ด้วย
 คำ แต่งแก้ เป็นคำประสมสองคำคือ แต่งและแก้ คำแต่ง หมายความว่า จัดให้งาม ทำให้ดี ประดับประดาให้งดงาม ส่วนคำว่า แก้ หมายความว่า เปลี่ยนแปลงแก้ไขให้ดีขึ้น
ดังนั้น แต่งแก้ จึงหมายความว่า การตกแต่งประดับประดาให้ดีขึ้น เพื่อแก้ไขสิ่งบกพร่องหรือเคราะห์ร้ายต่างๆ ให้กลายเป็นดีขึ้น เจริญขึ้นและมีความสุขขึ้น



วิธีแต่งแก้

ให้จัดเครื่องกิยาบูชา โดยจัดเครื่องใช้ต่างๆ เช่นเดียวกับการเสียเคราะห์ จากนั้นให้หาหมอสูดมาทำพิธีแต่งแก้ให้ที่บ้านก็ได้ หรือจะนำเครื่องกิยาบูชาทั้งหมดยกไปที่บ้านหมอสูดเอง และถ้าสวดกลางคืนจะถือว่าขลัง
เมื่อเตรียมอุปกรณ์ได้ครบถ้วนแล้ว หมอสูดจะจัดอุปกรณ์ต่างๆ ใสในกระทงแต่งขัน 5 เป็นเครื่องบูชา ป่าวเทวดาตั้งนะโม 3 จบ แล้วทำการสวดสะเดาะเคราะห์ คำสวดจะมีลักษณะต่างๆ กันตามชนิดของการเสียเคราะห์ เมื่อสวดจบแล้วมีการควดข้าวลงในกระทงให้แก่ผู้เสียเคราะห์ บางแห่งใช้น้ำมนต์ประลงฝ่ามือ ถือว่าเป็นการปัดเคราะห์ ปัดเสนียดจัญไรลงในกระทง เสร็จแล้วเอากระทงไปทิ้งตามทิศทางที่พราหมณ์กำหนดให้ จึงเป็นอันเสร็จพิธีสะเดาะเคราะห์



วัตถุและสิ่งของที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม

วัตถุและสิ่งของที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม หมายถึง วัตถุและสิ่งของที่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องประกอบพิธี แบ่งออกเป็น 3 ประเภทได้แก่ เครื่องบูชา เครื่องเซ่นไหว้ ภาชนะใส่เครื่องบูชา


1.เครื่องบูชา ประกอบด้วย ดอกไม้ ธูป เทียน ดอกไม้ต้องใช้ดอกไม้สีขาวเท่านั้น
2.เครื่องเซ่นไหว้ ประกอบด้วย
    -อาหารคาว หมายถึงข้าวเหนียวนึ่งสุก และ ปลาปิ้ง
    -ของหวาน หมายถึง ข้าวดำ ข้าวแดง กล้วยน้ำหว้าสุก
    -หมากพลู
    -ยาเส้น
4.ตุ๊กตา ทำจากกาบกล้วยหรือกระดาษตัดเป็นรูปคน
5.ธง ใช้ธงสามเหลี่ยมขนาดเล็ก ใช้ผ้าหรือกระดาษ  9 สี 9 ธง
6.ด้ายสายสิญจน์
7.ภาชนะที่ใช้ใส่เครื่องบูชาและเครื่องเซ่นไหว้ คือ กระทงเก้าช่อง 
    -กระทงเก้าช่อง หมายถึง กระทงที่ทำมาจากกาบกล้วยตัดให้เป็น 4 ท่อนเท่ากัน นำมาต่อกันเป็นสี่เหลี่ยม จัตุรัสแบ่งเป็นเก้าช่อง เพื่อใส่เครื่องบูชาและเครื่องเซ่นไหว้ ในพิธีกรรมสะเดาะเคราะห์เพื่อรับโชค ต่ออายุ และตัดเวรตัดกรรม 





วิดีโอแนะนำ