พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542


พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.  2542

   การศึกษา  หมายความว่า  กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้  การฝึก  การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ  การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อมสังคม 
การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
   การศึกษาขั้นพื้นฐาน  หมายความว่า  การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา
   การศึกษาตลอดชีวิต  หมายความว่า  การศึกษาที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
   สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  หมายความว่าสถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
   มาตรฐานการศึกษา หมายความว่า ข้อกำหนดที่เกี่ยวกับคุณลักษณะ  คุณภาพ ที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ  การประเมินผลและการประกันคุณภาพทางการศึกษา
   ผู้สอน  หมายความว่า ครูและคณาจารย์ ในสถานศึกษาระดับต่าง ๆ
   บุคลากรทางการศึกษาหมายความว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริการทางการศึกษา ร่วมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ
   กระทรวง  หมายความว่า กระทรวงศึกษา  ศาสนา และวัฒนธรรม
.....................................................................................................................................................

หมวด  1  บททั่วไป  ความมุ่งหมายและหลักการ
    -      ความมุ่งหมาย   มุ่งพัฒนาคนไทยให้เป็น  ที่สมบูรณ์ ทั่งร่างกาย  จิตใจ  สติปัญญา  ความรู้คู่คุณธรรม
    -      หลักการจัดการศึกษา          เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน  ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา  และพัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
    -      การจัดระบบโครงสร้าง  และกระบวนการจัดการศึกษา  ยึดหลัก 6 ข้อ
       1.   มีเอกภาพด้านนโยบายแต่หลากหลายการปฏิบัติ
       2.    กระจายอำนาจสู่เขตพื้นที่การศึกษาสถานศึกษาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
       3.     กำหนดมาตรฐานสถานศึกษาการประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและทุกประเภทการศึกษา
       4.    ส่งเสริมมาราฐานวิชาชีพครู  คณาจารย์  และบุคลากรทางการศึกษา
       5.     ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆมาใช้ในการจัดการศึกษา
       6.      การมีส่วนร่วมของบุคคล  ครอบครัว ชุมชน องค์กร ชุมชนองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น  สถาบันสังคมอื่นๆ
......................................................................................................................................................

หมวด  2  สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา
    -    สิทธิและโอกาสทางการศึกษา  ได้แก่  การศึกษาขั้นพื้นฐาน  12  ปี และการศึกษาสำหรับผู้พิการ/ ด้อยโอกาส
    -     สิทธิในการจัดการศึกษา  ทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาไม่ว่าจะเป็นบุคคล  ครอบครัว  องค์กรชุมชน  องค์กรวิชาชีพ  สถาบันทางศาสนา  องค์กรเอกชน  และสถาบันอื่น ๆ
    -     ผู้จัดการศึกษามีสิทธิรับประโยชน์จากรัฐ ในด้านการสนับสนุนความรู้ ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดู  เงินดุดหนุนการจัดการศึกษา  และการลดหย่อนยกเว้นภาษี
......................................................................................................................................................

หมวด  3  ระบบการศึกษา
    -      การจัดการศึกษา  3  รูปแบบ (  มาตรา 15) ในระบบ  นอกระบบ และตามอัธยาศัย
    -      สถานศึกษาอาจจัดรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือทั้ง 3 รูปแบบก็ได  มีการเทียบโอนผลการเรียนได้ทั้ง 3 รูปแบบ
    -      การศึกษาในระบบ  มี 2 ระดับ  คือ
       1.    การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน  รัฐต้องจัดให้ไม่น้อยกว่า  12  ปี  อย่างทั่วถึง
มีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย (  การศึกษาภาคบังคับ  9 ปี  คือ อายุย่างเข้าปีที่ 7 ถึงย่างเข้าปีที่ 16)   
       2.  การศึกษาระดับอุดมศึกษา  ได้แก่ การศึกษาระดับปริญญาและต่ำกว่า
ปริญญา        
.......................................................................................................................................................

หมวด  4 แนวการจัดการศึกษา 
   ยึดหลัก  ตาม มาตรา  22 คือ ผู้เรียนสำคัญที่สุด  ผู้เรียนสมารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ  โดยเน้นความสำคัญที่ความรู้ความสามารถ  คุณธรรม  จริยธรรม  กระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมแต่ละระดับการศึกษา
   -  สาระการเรียนรู้  เน้นความรู้เกี่ยวกับตนเอง  คณิตศาสตร์  และภาษา  วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี  ศาสนา  ศิลปะ  วัฒนธรรม  กีฬา  ภูมิปัญญาไทย และการประกอบอาชีพ  และการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
   -  การจัดกระบวนการเรียนรู้ ( มาตรา 24 )
       1.     สอดคล้องความสนใจ  ความถนัด และความแตกต่างระหว่างบุคคล
       2.     ฝึกทักษะกระบวนการคิด  การจัดการ การเผชิญสถานการณ์การประยุกต์ใช้ความรู้
       3.      เรียนรู้จากประสบการณ์จริง  ฝึก ปฏิบัติให้ทำได้  คิดเป็น  ทำเป็น
รักการอ่านและใฝ่รู้
       4.      ผสมผสานความรู้อย่างสมดุลปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมคุณลักษณะ
อันพึงประสงค์
       5.      จัดบรรยากาศ  สภาพแวดล้อม สื่อ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
       6.      เรียนรู้ได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ ประสานความร่วมมือ จากทุกฝ่ายเพื่อพัฒนาผู้เรียน ตามศักยภาพ
   -  การประเมินผู้เรียนพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน  ความประพฤติ  พฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรมและการทดสอบ ( มาตรา 26 )
   -  การจัดทำหลักสูตร  คณะกรรมการสถานศึกษาเป็นผู้กำหนดหลักสูตรแกนกลาง  สถานศึกษาจัดทำหลักสูตรท้องถิ่น
   - การสร้างความร่วมมือ สถานศึกษาร่วมกับบุคคล ครอบครัว ( มาตรา 29 )
   - สถานศึกษา  พัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้
....................................................................................................................................................

หมวด  5  การบริหารและการจัดการศึกษา
   -  แบ่งเป็น  3 ระดับ คือ ระดับชาติ ระดับเขตพื้นที่ และระดับสถานศึกษา
   -  ให้กระทรวงกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาไปยังเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาโดยตรงในด้านวิชาการ งบประมาณ บริหารบุคคล และการบริหารทั่วไป เป็นไปตามกฎกระทรวง
   -  คณะกรรมการเขตพื้นที่  มีหน้าที่กำกับ  ดูแลสถานศึกษา จัดตั้ง ยุบรวมและเลิกสถานศึกษา  ประสานส่งเสริมสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนในเขตพื้นที่ ประสานส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้สามารถจัดการศึกษา  ส่งเสริม  สนับสนุนจัดการศึกษาบุคคลและองค์กรต่าง ๆ และกำกับดูแลหน่วยงานศาสนา  ศิลปะและวัฒนธรรม
   -  องค์ประกอบของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา  ผู้แทนองค์กรชุมชน  องค์กรเอกชน  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  สมาคมวิชาชีพครู  ผู้บริหารสถานศึกษา  สมาคมครู ผู้ปกครองและผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา  ศาสนา ศิลปะแลวัฒนธรรม
   - คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีหน้าที่  กำกับ  ส่งเสริมและสนับสนุนกิจการของสถานศึกษา
   - องค์ประกอบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้แทน ผู้ปกครองครู  องค์กรชุมชน องค์ปกครองส่วนท้องถิ่น  ศิษย์เก่า ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้บริหารสถานศึกษา
   -  การบริการและการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีสิทธิจัดการศึกษาระดับใดระดับหนึ่งหรือทุกระดับ
   -  การบริหารและจัดการศึกษาเอกชน  เน้นความมีอิสระ  รัฐกำกับติดตามประเมินคุณภาพและมาตรฐาน สนับสนุนด้านเงินอุดหนุน วิชาการ  สิทธิประโยชน์ ลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีจัดการศึกษาได้ทุกระดับทุกประเภท
...................................................................................................................................................

หมวด  6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา
   ระบบการประกันคุณภาพการศึกษา แบ่งเป็น ระบบประกันคุณภาพภายใน และระบบประกันคุณภาพภายนอก
   ระบบประกันคุณภาพภายใน  หน่วยงานที่รับผิดชอบ คือหน่วยงานต้นสังกัดมีหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุน  และสถานศึกษามีหน้าที่ระบบประกันภายใน โดยขอรับการประเมินจาก สมศ.  และจัดทำรายงานประจำปีเสนอหน่วยงานต้นสังกัดและสาธารณชน
   ระบบประกันคุณภาพภายนอก หน่วยงานที่รับผิดชอบคือ  สมศ. จะประกันสถานศึกษาทุกๆ 5 ปีโดยกำหนดเกณฑ์และวิธีการประเมิน แจ้งผลต่อสถานศึกษาและรางานหน่วยงานต้นสังกัดสาธารณชน
..................................................................................................................................................

หมวด  7  ครู  คณาจารย์  และบุคลากรทางการศึกษา
ครู  คณาจารย์  และบุคลากรทางการศึกษา มีคุณภาพ มีมาตรฐาน เป็นวิชาชีพชั้นสูง
   - มีระบบกระบวนการผลิตการพัฒนา
   - องค์กรวิชาชีพ มีมาตรฐาน ใบอนุญาต การกำกับดูแล และมีการพัฒนา
   - องค์กรกลางมีการบริหารบุคคลมีการกระจายอำนาจ
    - มีการจัดสวัสดิการด้านเงินเดือน ค่าตอบแทน สวัสดิการ สิทธิประโยชน์ที่เกื้อกูล
   - มีกองทุนพัฒนาและกองทุนส่งเสริม
....................................................................................................................................................

หมวด  8  ทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา
1.ระดมทรัพยากรทั้งภาครัฐและเอกชน
2.รายได้สถานศึกษาไม่ต้องส่งคืนคลัง
3.รัฐจัดงบประมาณให้การศึกษาในฐานะสำคัญสูงสุดต่อการพัฒนาที่ยังยืนของประเทศ
                -      เงินอุดหนุนทั่วไปรายบุคคล
                -      กองทุนกู้ยืมผู้เรียนยากจน
                -      จัดเป็นพิเศษให้ผู้พิการ ด้อยโอกาส และผู้มีความสามารถพิเศษ
                -       คำนึงถึงคุณภาพและความเสมอภาค
                -       จัดงบอุดหนุนทั่วไปให้สถานศึกษา  อุดมศึกษาที่เป็นนิติบุคคล
                -        กองทุนกู้ยืมสถานศึกษาเอกชน
                -        กองทุนพัฒนาการศึกษาของรัฐและเอกชน
4.จัดเงินอุดหนุนให้บุคคลและองค์กรที่จัดการศึกษา
5.มีระบบตรวจสอบติดตามประเมินการใช้งบประมาณ
.....................................................................................................................................................

หมวด  9  เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
    - รัฐจัดสรรคลื่นความถี่  สื่อตัวนำ  โครงสร้างพื้นฐาน
    - ส่งเสริม  สนับสนุน  การผลิตและพัฒนาแบบเรียน สื่อและเทคโนโลยีให้แข่งขัน
อย่างเสรี
    - การพัฒนาบุคลากรผู้ผลิตและผู้ใช้
    - ผู้เรียนมีสิทธิได้รับการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
    - รัฐต้องส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาการผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยี
    - จัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษา
    - มีหน่วยงานกลางดูแลและรับผิดชอบ
....................................................................................................................................................











0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น