CHANGE YOUR BRAIN

Welcome to my thorn of knowledge

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับการฝึกลูกสุนัข

การฝึกลูกสุนัขมีสิ่งที่ควรรู้ไว้สำหรับการฝึกมากมายblogเราเลยได้เขียนบทความเพื่อให้ผู้สนใจในการฝึกลูกสุนัขได้ศึกษา

Radioactive

imagine dragons soundtrack of The host(2013)

วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

การแผ่รังสีของธาตุกัมมันตรังสี


     
     รังสีเป็นพลังงานที่แพร่กระจายออกมาในลักษณะ ของคลื่นแม่เล็กไฟฟ้า ในความยาวของคลื่นที่แตกต่างกัน พลังงาน ดังกล่าวจะถูกปล่อยออกจากอะตอม ในหลายรูปแบบ เช่น แสง ความร้อน คลื่นวิทยุ คลื่นโทรทัศน์ และ กัมมันตรังสี 

1. รังสีที่ทำให้เกิดการแตกของประจุ (Ionizing Radiation)
     เป็นรังสี ที่กระทบกับสารใดๆ แล้วก็ตาม จะทำให้เกิดการแตกประจุบวก หรือ ลบทีสารนั้นๆ ซึ่งกลายเป็นมี ประจุไฟฟ้า ของสารต่างๆ นี้ จะทำให้กระบวนการ ทางชีววิทยาของ สารนั้นตามปกติ ถูกรบกวานไปด้วย รังสีชนิดนี้จัดเป็น พลังงานระ ดับสูง ที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิต โดยทั่วไปเรียกว่า กัมมันตรังสี (radioactive) จะพบว่า รังสีที่ทำให้เกิดประจุนี้ มี 2 ลักษณะ คือ เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่มี ความถี่สูงมาก เคลื่อนที่ไปลักษณะของคลื่น เช่น x-ray และรังสี แกรมม่า หรือ เป็นอนุภาค เช่น รังสีแอลฟา รังสีเบตา 
     การได้รังสี ในปริมาณในระดับสูง จะทำให้สิ่งมีชีวิตตายได้ เช่น กรณีของฮิโรชิมา นางาซากิ หรือ เซอร์โนบิล รังสี ปริมาณต่ำ จะถูกใช้ในด้านการแพทย์ เช่น x-ray หรือ การฉายรังสีถนอมอาหาร 

     รังสีที่ทำให้เกิดการแตกตัวของประจุ แบ่งเป็น

          รังสีแอลฟา (Alpha) มีประจุไฟฟ้าเป็นบวก เนื่องจาก นิวเคลียร์ของอะตอม ของฮีเลียม ประกอบด้วย โปรตอนสองตัว และ นิวตรอนสองตัว ดังนั้น อนุภาคแอลฟา จึงมีประจุไฟฟ้าเป็นบวก ทะลุผ่านได้ถึงเพียงแค่ผิวหนัง เท่านั้น และโดยปกติ เคลื่อนที่ได้ไม่ไกลเกินกว่า 9 เซนติเมตร ในอากาศ
          รังสีเบตา (Beta) เป็นอิเลคตรอน ที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง มากกว่าความเร็วของอนุภาคแอลฟา ถึงสิบเท่า หรือ อาจจะมากกว่าขึ้นไป อนุภาคเบตานี้มีประจุไฟฟ้าลบ สามารถเบี่ยงเบนได้ในสนามไฟฟ้าหรือสนามแม่เหล็ก เนื่องจาก ขนาดของอนุภาคนี้เล็ก และมีความเร็วสูง จึงสามารถทะลุผ่านวัตถุหนา ได้ดีกว่าอนุภาคแอลฟา โดยสามารถทะลุเข้าในเนื้อเยื่อ ได้ถึง 1-2 เซนติเมตร อาจกั้นอนุภาคเบตานี้ได้ด้วยชิ้นโลหะบาง ๆ 
          รังสีโพซิตรอน (positron) หรือ แอนติอิเล็กตรอน (antielectron) เป็นปฏิยานุภาคหรือปฏิสสารของอิเล็กตรอน โพซิตรอนมีประจุไฟฟ้าเป็น +1โพซิตรอนอาจจะเกิดจากการสลายตัวของการปลดปล่อยโพซิตรอนกัมมันตรังสี (ผ่านอันตรกิริยาอย่างอ่อน) หรือโดยการผลิตคู่จากโฟตอนที่มีพลังงานเพียงพอ
          รังสีแกมมา (Gamma rays) เป็นรังสีช่วงความถี่สูงมากกว่ารังสีเอ็กซ์ ไม่มีน้ำหนักและเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่า กับแสง มีสมบัติเหมือนรังสีเอ็กซ์ คือ สามารถทะลุผ่านร่างกายมนุษย์ หรือเนื้อวัตถุ หนามาก ๆ เช่น ไม้ หรือ โลหะได้ และยังพบว่า มีอำนาจ ทางการทะลุผ่าน ดีกว่ารังสีเอ็กซ์
            รังสีโปรตอน (proton ) คืออนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าเป็นบวกเกาะอยู่ในนิวเคลียสหรือใจกลางของธาตุเดียวกันจะมีจำนวนโปรตอนเท่ากัน 
           นิวตรอน (neutron) เป็นอนุภาคที่เป็นกลางไม่มีประจุไฟฟ้าอยู่ในนิวเคลียส มีจำนวนใกล้เคียงกับโปรตอนแต่อาจแตกต่างกันได้


2. รังสีที่ไม่ทำให้เกิดการแตกตัวของประจุ (Non-ionizing Radiation) 
     เป็นรังสีที่พบในชีวิตประจำวัน เช่น คลื่นวิทยุ และโทรทัศน์ แสงอาทิตย์ วิดีโอ การฉายภาพข้ามศีรษะ สายส่งไฟฟ้า ตลอดจนการใช้ผ้าห่มไฟฟ้า แสงอุลตร้าไวโอเลตจัดเป็นรังสีที่ไม่ทำให้เกิดการแตกตัวของประจุที่มีพลังงานสูง และเป็นอันตรายต่อชีวิต ทำให้เกิดโรคมะเร็งของผิวหนัง


ตารางสรุปรังสี





วิธีทำดีใช้หนี้พ่อแม่:สิ่งที่ลูกทุกคนต้องรู้


  
   พ่อแม่ เป็นบุคคลที่รู้จักทั่วโลก คนเราเกิดมาเห็นโลกอันกว้างใหญ่นี้ได้ เพราะท่านเป็นผู้ให้กำเนิด ให้อวัยวะทุกส่วนของร่างกายให้แก่ลูกซ้ำพ่อแม่ยังบำเพ็ญตนเป็นยอดนักบุญสำหรับชีวิตของลูกอีกด้วย เป็นผู้เสียสละความสุขของตัวเอง เฝ้าทะนุถนอมเลี้ยงดูเอาใจใส่ทุกเวลาทำทุกอย่างเพื่อความผาสุขของลูก ลูกต้องการปรารถนาสิ่งใด อันเป็นสิ่งที่ไม่เหลือวิสัย ก็พยายามจัดหาให้ทุกอย่าง เป็นผู้ใกล้ชิดลูกยิ่งกว่าใคร

     แต่ลูกส่วนมาก หารู้จักลึกซึ้งถึงพระคุณของพ่อแม่ไม่ คงรู้เพียงว่า ชายผู้ให้กำเนิดตน เรียกว่า “พ่อ” หญิงผู้ให้กำเนิดตน เรียกว่า “แม่” เพราะเหตุนี้ พระพุทธเจ้าผู้เป็นที่พึ่งของโลก ทรงรู้ซึ้งถึงพระคุณของพ่อแม่ ตรัสฐานะของท่านว่า พ่อแม่เป็นพระพรหม เป็นบุรพเทวดา เป็นบุรพจารย์ เป็นอาหุไนยบุคคล(บุคคลผู้ควรแก่ของที่เขานำมาคำนับคือนำมาบูชา นำมาให้)ของบุตร

      พ่อแม่ เป็นผู้มั่นคงในพรหมวิหารธรรมในลูกของตน ย่อมมี
เมตตา ความรัก ปรารถนาเห็นลูกมีความสุข
กรุณา ความสงสาร เมื่อเห็นลูกประสบความทุกข์ ก็คิดแต่จะช่วยให้พ้นความทุกข์
มุทิตา ความยินดี เมื่อเห็นลูกสามารถปกครองตนและครอบครัวได้
อุเบกขา  ความวางจิตมัธยัสถ์เป็นกลาง เมื่อลูกประสบความผิดหวัง หรือทำในเรื่องให้เกิดความเดือดร้อนก็ไม่ซ้ำเติม
         พ่อแม่จึงได้รับนามบัญญัติว่าเป็น พระพรหมของลูก



     เพราะพ่อแม่มีพระคุณมากดังกล่าวมานี้ ลูกที่ดีจึงต้องระลึกถึง ถ้าหวังจะบำเพ็ญตนเป็นลูกที่ดี จึงเป็นการสมควรแล้วที่จะหาทางสนองพระคุณ ตามสถานะและโอกาส องค์พระชินสีห์ ตรัสแสดงวิธีตอบแทนบุญคุณพ่อแม่แกเคฤหบดีบุตรชื่อสิงคลกะว่า ดูก่อนคฤหบดีบุตร เมื่อพ่อแม่ ได้อนุเคราะห์บุตรธิดาแล้วลูกหญิงชาย พึงตอบแทนท่านด้วยวิธี  5 เช่นกัน คือ

1.ท่านเลี้ยงมาแล้ว เลี้ยงท่านตอบ
     เป็นข้อที่ลูกควรทำเพราะเราเติบโตได้ก็อาศัยที่ท่านมีเมตตาเลี้ยงดู เมื่อท่านแก่ลงเป็นหน้าที่ของลูกพึงเลี้ยงดูเป็นการทดแทนพระคุณ คนโบราณกล่าวภาษิตบทหนึ่งเตือนใจลูกว่า อันทิศเบื้องหน้าบิดามารดาเคยพึงอาศัย อย่าได้ดูถูก หมั่นปลูกอาลัย หมั่นเลี้ยงท่านไป ตราบม้วยชีวา
     
     การเลี้ยงดูพ่อแม่นั้นท่านแสดงไว้ 2 ประการคือ
         - การเลี้ยงภายนอก(การอปัฏฐากอย่างต่ำ) เช่น หาข้าวหาปลาอาหารผ้าผ่อนให้ท่าน เป็นการให้ความสุขทางกาย เป็นอามิสบูชา
           -การเลี้ยงดูภายใน(อุปัฏฐากอย่างสูง) เช่น การเลี้ยงดูน้ำใจเชื่อฟังคำสอนท่าน หาทางนำท่านให้เป็นผู้มีธรรม ให้ท่านได้บำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญภาวะนา

2.ช่วยทำกิจของพ่อแม่ไม่ดูดาย
      เป็นหน้าที่ลูกพึงกระทำเป็นการผ่อนแรงท่านที่ตรากตรำหาเลี้ยงเรามา ไม่ทำตนให้เป็นคนดูดาย พ่อแม่ทุกคนย่อมหวังพึ่งพาอาศัยลูก ดังโบราณกล่าว่า มีลูกเหมือนปลูกต้นโพธิ์ เมื่อใหญ่โตจะได้อาศัย ยามเจ็บไข้จะได้ฝากไข้ ยามตามจะได้ฝากผี


3.ดำรงวงศ์สกุลอย่าให้เสื่อม
     การประพฤติตนเป็นคนดี เพื่อรักษาวงศ์สกุลของตนไม่ให้เสียหาย เพราะลูกไม่ดีเขาว่าถึงพ่อแม่ ฉะนั้นอะไรที่ทำให้ท่านเดือดร้อนใจ จากการกระทำของเราอย่าได้ไปทำสิ่งนั้น


4.ประพฤติตนให้เป็นคนควรได้รับมรดก
     การประพฤติตนให้สมควรเป็นผู้รับมรดกก็เป็นเรื่องสำคัญ นอกจากเป็นการทำตนให้เจริญแล้ว ยังทำท่านพอใจเกิดความสุขอันเป็นการเลี้ยงน้ำใจท่าน และขอเตือนว่าทรัพย์สมบัติที่พ่อแม่หามาด้วยหยาดเหงื่อแรงงานมันเป็นของศักดิ์สิทธิ์ไม่ควรนำไปเลี้ยงชีวิตในทางที่ผิด


5.เมื่อท่านล่วงลับไป ทำบุญให้แก่ท่าน
     ข้อนี้เป็นการสนองพระคุณครั้งสุดท้าย แม้เป็นการทำลับหลังก็ตาม ก็เป็นการแสดงออกให้เห็นว่า ตนเป็นลูกกตัญญู ไม่ลืมความดีที่ท่านทำไว้แก่ตน ขวนขวายที่จะตอบแทนเมื่อมีโอกาส เป็นการประกาศให้ทราบว่าเป็นคนน่าคบหาสมาคม แม้ฝ่ายหนึ่งล่วงลับไปแล้ว ก็ยังระลึกถึงและหาทางตอบสนองคุณ



ผู้ใดก็ตามที่พ่อแม่ยังมีชีวิตอยู่ก็ให้หมั่นกราบไหว้ศีลขอพรจากท่านจะได้มั่งมีศรีสุข ส่วนคนที่เคยทำไม่ดีกับท่าน ให้นำธูปเทียนแพดอกไม้พวงมาลัยไปกราบขอขมาขออโหสิกรรมจากท่านเสียแต่ตอนที่ยังมีชีวิตอยู่จะได้ไม่มีเวรมีกรรมติดตัว


ขอขอบคุณ:หนังสือชีวิตลิขิตด้วยกรรม ของ พระธรรมสิงหบุราจารณ์(หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมโม)







วันเสาร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2556

เทิดทูนพระคุณครูที่ยิ่งใหญ่ กับโฆษณาเกี่ยวกับครู



blog เราได้รวบรวมโฆษณาเกี่ยวกับครูเนื่องในวันครูเเห่งชาติที่ทาง 7-eleven ได้ทำขึ้นเพื่อระลึกถึงพระคุณของครูผู้ให้ความรู้เเละความรักเเก่ศิษย์ทุกคน





briangger ขอกราบระลึกพระคุณของครู

วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556

การค้นพบกัมมันตภาพรังสี


     ในปี พ..2439 เบคเคอเรล (Henri Becquerel) นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศสได้ทำการศึกษาว่า เมื่อสารใดๆเกิดการเรืองแสงจะมีการปล่อยรังสีเอกซ์(x-ray)ออกมาพ้อมกับการเรืองแสงหรือไม่ เขาได้ทำการทดลองกับสารต่างๆที่เกิดการเรืองแสงเมื่อได้รับแสงแดด โดยวางสารเหล่านั้นไว้กลางแดดแล้วตรวจสอบโดยใช้ฟิล์มถ่ายรูปใส่ไว้ในซองกระดาษดำ ซึ่งแสงแดไม่สารถทะลุผ่านไปได้ แล้วนำไปวางไว้ใต้สารที่อยู่กลางแดดซึ่งคาดว่าถ้ามีการปล่อยรังสีเอกซ์ออกมาจากสารนั้น รังสีเอกซ์จะทะลุผ่านซองกระดาษไปยังฟิล์มแล้วทำให้เกิดรอยดำบนฟิล์มเมื่อนำฟิล์มไปล้าง



อ็องตวน อ็องรี เบคเคอเรล (Antoine Henri Becquerel; 15 ธันวาคม ค.ศ. 1852 – 25 สิงหาคม ค.ศ. 1908) นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส เกิดในตระกูลที่มีนักวิทยาศาสตร์ถึง 4 รุ่น ตั้งแต่รุ่นปู่จนกระทั่งรุ่นลูก เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ. 1903 ร่วมกับปีแยร์ กูรี (Pierre Curie) และมารี กูรี (Marie Curie) หลังจากที่เขาถึงแก่กรรม ชื่อสกุลของเขาได้กลายเป็นหน่วยวัดกัมมันตภาพ ในระบบหน่วยเอสไอ คือ เบคเคอเรล (Becquerel) เขียนด้วยสัญลักษณ์ Bq




   ในการทดลองกับสารประกอบยูเรเนียม เบคเคอเรลพบว่ามีรอยดำปรากฏบนฟิล์มดังที่คาดไว้  แต่เขาสรุปเพียงว่ามีรังสีชนิดหนึ่งแผ่ออกมาจากสารประกอบยูเรเนียมและรังสีนี้ทะลุผ่านกระดาษดำไปกระทบฟิล์มทำให้เกิดรอยดำบนฟิล์ม  เขามิได้สรุปว่ารังสีนี้เป็นรังสีเอกซ์เนื่องจากยังไม่ได้ตรวจสอบสมบัติของรังสีนั้นอย่างละเอียด  อย่างไรก็ตามในการทดลองซ้ำในช่วงไม่มีแสงแดด เขาได้นำสารและซองกระดาษดำที่บรรจุฟิล์มไปเก็บไว้ในลิ้นชักหลายวัน เมื่อเขานำฟิล์มที่ทิ้งไว้ในนั้นไปล้างดูโดยคาดว่าคงเห็นรอยจางๆเท่านั้น เขากลับพบว่า รอยดำบนแผ่นฟิล์มมีสีเข้มกว่ารอยดำที่ได้จากการทดลองครั้งแรกที่มีแสงแดด
      เบคเคอเรลจึงสรุปว่าสารประกอบยูเรเนียมปล่อยรังสีชนิดหนึ่งออกมาตลอดเวลาโดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาแสงแดดแต่อย่างใด และรังสีชนิดนี้สามารถทะลุผ่านวัตถุทึบแสงได้ เขายังพบว่าอัตราการปล่อยรังสีของนี้แปรผันตรงกับปริมาณของยูเรเนียม  การศึกษาสมบัติของรังสีที่ได้จากสารประกอบยูเรนียมทำให้รู้ว่า รังสีนั้นมีคุณสมบัติบางประการคล้ายรังสีเอกซ์ เช่นสามารถทะลุผ่านวัตถุต่างๆ และทำให้อากาศแตกตัวเป็นไอออนได้ แต่การแผ่รังสีชนิดนี้เกิดขึ้นได้เองตลอดเวลาในขณะที่การแผ่รังสีเอกซ์เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติไม่ได้ นอกจากนี้เบคเคอเรลยังได้พบอีกว่า สารประกอบของยูเรเนียมทุกชนิดจะทำให้เกิดรอยดำบนแผ่นฟิล์มเขาจึงเสนอความคิดว่า รังสีนี้เกิดจากธาตุยูเรเนียม


รอยดำบนแผ่นฟิล์มจากการทดลองของอ็องตวน อ็องรี เบคเคอเรล



     ต่อมา "มารี กูรี และ ปีแอร์ กูรี"  ได้ทดลองกับธาตุบางชนิดเช่น ทอเรียม เรเดียม พอโลเนียม และพบว่ามีการแผ่รังสีเช่นเดียวกับธาตุยูเรเนียม ปรากฏการณ์ที่แผ่รังสีได้เองอย่างต่อเนื่องนี้ เรียกว่ากัมมันตภาพรังสี(Radioactivity) และธาตุที่มีสมบัติแผ่รังสีได้เองเรียกว่า ธาตุกัมมันตรังสี(Radioacive element)
มารี กูรี และ ปีแอร์ กูรี (Marie Curie and Pierre Curie) มารี กูรี (7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1867 - 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1934) นักฟิสิกส์และนักเคมีชาวโปแลนด์-ฝรั่งเศส ผู้ค้นพบรังสีเรเดียม ที่ใช้ยับยั้งการขยายตัวของมะเร็ง ซึ่งเป็นโรคร้ายที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่มีอัตราการตายของของคนไข้เป็นอันดับหนึ่งมาทุกยุคสมัย ด้วยผลงานที่มีความสำคัญต่อมนุษยชาติเหล่านี้ ทำให้มารี กูรีได้รับรางวัลโนเบลถึง 2 ครั้ง ในสาขาฟิสิกส์ ค.ศ. 1903 ร่วมกับ ปีแอร์ กูรี และเบคเคอเรล และในสาขาเคมี ปี ค.ศ. 1911 :  ปีแอร์ กูรี (Pierre Curie 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1859 – 19 เมษายน ค.ศ. 1906) นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส สามีของมารี กูรี ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์เมื่อ ค.ศ. 1903



     ในเวลาต่อมาพบว่า รังสีที่พบโดยแบ็กเคอเรลเป็นคนละชนิดกับรังสีเอกซ์ รังสีดังกล่าวเป็นรังสีที่ถูกปล่อยออกมาจากนิวเคลียสของธาตุ เมื่อนิวเคลียสของธาตุนั้นอยู่ในสภาวะไม่เสถียร สภาวะไม่เสถียรเกิดจากส่วนประกอบภายในของนิวเคลียสไม่เหมาะสม หมายความว่า ในนิวเคลียสประกอบด้วยโปรตอนซึ่งมีประจุบวกและนิวตรอนซึ่งเป็นกลางทางไฟฟ้า สัดส่วนของจำนวนโปรตอนต่อจำนวนนิวตรอนไม่เหมาะสมจนทำให้ธาตุนั้นไม่เสถียร ธาตุนั้นจึงปล่อยรังสีออกมาเพื่อปรับตัวเองให้เสถียร ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ




ประวัติการค้นพบดังนี้
     - รังสีเอกซ์ ถูกค้นพบโดย Wilhelm Conrad Röntgen อย่างบังเอิญเมื่อปี ค.ศ. 1895
     - 
ยูเรเนียม (Uranium) ค้นพบโดย Becquerel เมื่อปี ค.ศ. 1896 โดยเมื่อเก็บยูเรเนียมไว้กับฟิล์มถ่ายรูป ในที่มิดชิด ฟิล์มจะมีลักษณะ เหมือนถูกแสง จึงสรุปได้ว่าน่าจะมีการแผ่รังสีออกมาจากธาตุยูเรเนียม เขาจึงตั้งชื่อว่า Becquerel Radiation
      - พอโลเนียม (Polonium) ถูกค้นพบและตั้งชื่อโดย มารี กูรี ตามชื่อบ้านเกิด (โปแลนด์) เมื่อปี ค.ศ. 1898 หลังจากการสกัดเอายูเรเนียมออกจาก Pitchblende หมดแล้ว แต่ยังมีการแผ่รังสีอยู่ สรุปได้ว่ามีธาตุอื่นที่แผ่รังสีได้อีกแฝงอยู่ใน Pitchblende นอกจากนี้ กูรียังได้ตั้งชื่อเรียกธาตุที่แผ่รังสีได้ว่า ธาตุกัมมันตรังสี (Radioactive Element) และเรียกรังสีนี้ว่า กัมมันตภาพรังสี (Radioactivity)
      - เรเดียม (Radium) ถูกตั้งชื่อไว้เมื่อปี ค.ศ. 1898 หลังจากสกัดเอาพอโลเนียมออกจากพิตช์เบลนด์หมดแล้ว พบว่ายังคงมีการแผ่รังสี จึงสรุปว่ามีธาตุอื่นที่แผ่รังสีได้อีกใน Pitchblende ในที่สุดกูรีก็สามารถสกัดเรเดียมออกมาได้จริง ๆ จำนวน 0.1 กรัม ในปี ค.ศ. 1902




ขอบคุณข้อมูลจาก:scimath

วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556

ประวัติโกลเด้น รีทรีฟเวอร์



      โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างพันธุ์ Setter,Tweed Water paniel และ bloodhound จนได้ลักษณะที่ดีและพัฒนามาเป็นมาตรฐานปัจจุบัน  โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ เป็นสุนัขขนาดกลางที่มีความคล่องตัวสูง เป็นสุนัขที่เฉลี่ยวฉลาดมากจนสามารถนำมาฝึกเพื่อใช้งานสารพัด เนื่องจากเป็นสุนัขขนาดไม่เล็กหรือใหญ่จนเกินไป จัดเป็นสุนัขที่มีประสาทสัมผัสดีเลิศ ทั้งด้านการฟังเสียง การดมกลิ่น และการสะกดรอย นอกจากนี้ยังมีสายตาที่เฉียบคม ด้วยเหตุนี้ทหารและตำรวจในหลายๆประเทศจึงได้นำสุนัขพันธุ์นี้มาฝึกเพื่อไว้ช่วยงาน เช่น ค้นหายาเสพติด ดมกลิ่น สะกดรอยคนร้ายแต่ที่นิยมและเห็นมากที่สุดมักจะเป็นการนำทางให้คนตาบอด แต่ด้วยอุปนิสัยที่ไม่ไช่สุนัขที่ดุร้ายหรือก้าวร้าว จึงทำให้ โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ ขาดความเฉียบขาดในการปฏิบัติงานบางอย่างเช่น การสั่งให้กัด การใช้ความรุนแรง แต่จะโดดเด่นเรื่องความโอบอ้อมอารีย์และเป็นมตรต่อเด็กและคนชรา

      เรื่องราวของสุนัขที่มักถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ การพัฒนาสายพันธุ์ โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ อย่างไม่เป็นทางการมีอยู่ว่า หลังจากสงคราม Crimean(สงครามระหว่างจักรวรรดิรัสเซียฝ่ายหนึ่ง กับพันธมิตรอันประกอบด้วยจักรวรรดิฝรั่งเศส จักรวรรดิอังกฤษ จักรวรรดิออตโตมัน และราชอาณาจักรซาร์ดิเนียอีกฝ่ายหนึ่ง)จบลงได้ไม่นาน  Sir Dudley Majoribank(ซึ่งภายหลังได้เลื่อนเป็น Lord Tweedmouth)  ผู้มีบทบาทเป็นผู้ริเริ่มเพาะเลี้ยง ขยายพันธุ์สุนัขล่าเยื่อในขณะนั้นอยู่สก๊อตแลนด์ ท่านได้ชมการแสดงของคณะละครสัตว์ชาวรัสเซีย ท่านรู้สึกประทับใจกับสุนัข6ตัวที่พบมาก เพราะมีความเฉลียวฉลาดและขนสีทองเป็นประกายของพวกมัน สุนัขเหล่านี้สูง 30 นิ้ว หนักประมาณ 100 ปอนด์ ท่านได้ตัดสินใจซื้อสุนัขเหล่านี้ไว้
Lord Tweedmouth
      แต่ภายหลังได้พบหลักฐาน ซึ่งมีความขัดแย้งกับเรื่องราวดังกล่าวโดย Elma Stonex ได้เสนอหลักฐานที่เธอค้นพบในปี ค..1927 เรื่องมีอยู่ว่าใน ค..1860 ท่าน Lord Tweedmouth  ได้ซื้อลูกสุนัขสีน้ำตาลที่เกิดจากพ่อแม่สีดำ ซึ่งมีขนเหยียดตรงหรือหยิกเล็กน้อย ท่านได้ตั้งชื่อให้มันว่า Nous เพื่อนำไปเป็นพ่อพันธ์ในการพัฒนาสายพันธุ์สุนัขล่าเหยื่อ โดยท่าน Lord ได้บันทึกเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยง สุนัขทุกตัวของท่านอย่างละเอียดไว้ตั้งแต่ปี ค.. 1835-1890 ต่อมา Nous ได้ผสมกับ Belleซึ่งเป็นสุนัขสายพันธุ์ Tweed Water Spaniel ลักษณะเด่นของสุนัขพันธุ์นี้คือขนยาว ในการผสมครั้งนั้นได้ลูกสุนัขเพศเมีย 4 ตัวด้วยกันคือ Crocu,cowslip,ada,และprimrose ท่าน Lord ตัดสินใจเลือก Cowslip ในการผสมครั้งต่อไป ท่านใช้เวลาในการพัฒนาสายพันธุ์นานกว่า 20 ปี  สุนัขที่ท่านนำมาผสมข้ามสายพันธ์ได้แก่ Irish Setter เพื่อที่จะได้ลูกสุนัขที่มีสีสันต่างกันออกไป พร้อมทั้งเสริมความสามรถในการตามกลิ่นด้วยพันธุ์ Tweed Water Spaniel  เป็นสุนัขขนยาวที่มีความเชี่ยวชาญทางน้ำเป็นพิเศษและสุดท้ายคือพันธุ์ Bloodhound สีทราย  ซึ่งมีลักษณะเด่นในการตามรอย ที่กล่าวมานีพอจะสรุปได้ว่า โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ ในปัจจุบันเกิดจากการพัฒนาสายพันธุ์สุนัขล่าเหยื่อและสุนัขน้ำในอดีต
Bloodhound
Tweed Water  Spaniel


Irish Setter
      ในปีค..1903 The Kennel Club of England การรับรองสุนัขพันธุ์ โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ เข้าไว้ในทำเนียบ โดยให้ลงทะเบียนเป็นสุนัขขนตรง และระบุสีเท่านั้น โดยในปีค..1904 ท่าน Lord Harcourt เจ้าของคอกสุนัข Culham เป็นคนแรกที่ส่งสุนัขพันธุ์ โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ เข้าประกวด แต่ในขณะนั้นสุนัขพันธุ์นี้ยังไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร
พอมาในปี ค..1911 โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ เริ่มเป็นที่รู้จักและนิยมกันอย่างแพร่หลายในประเทศอังกฤษ ทางสมาคมให้การยอมรับสุนัขพันธุ์นี้อย่างเป็นทางการ โดยเรียกสุนัขพันธุ์นี้ว่า Yellow Retriever  หรือ Golden Retriever ซึ่งภายหลังชื่อ Yellow Retriever ไม่นิยมจึงเลิกใช้ไป….จบแล้วคร้าบ 

วิดีโอเเนะนำสุนัข golden retriever คร้าบ

ทำไมคนส่วนมากถนัด"ขวา"มากกว่า"ซ้าย


  
    เรื่องนี้ Clare Porac ศาสตราจารย์ทางด้านจิตวิทยาแห่ง Pennsylvania State University ซึ่งศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับความถนัดของมือ อธิบายว่าบรรดานักวิจัยซึ่งศึกษาเกี่ยวกับความถนัดของมือมนุษย์ต่างเห็นด้วยว่า ความถนัดของมือด้านซ้ายและขวามีผลมาจากปัจจัยทางชีววิทยา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พันธุกรรม

    มีทฤษฎีที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ 2 ทฤษฎี กล่าวไว้ว่า การคัดเลือกทางธรรมชาติซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิวัฒนาการ ได้คัดเลือกกลุ่มของมนุษย์ส่วนใหญ่ให้มีการควบคุมการพูดและภาษาโดยสมองซีกซ้าย และเนื่องจากสมองซีกซ้ายยังควบคุมการเคลื่อนไหวของมือขวาและการเคลื่อนไหวนี้จำเป็นต่อทักษะในการเขียน

    กว่าล้านปีของการวิวัฒนาการ ส่งผลให้มีจำนวนประชากรมนุษย์ที่มีพันธุกรรมใช้สมองซีกซ้ายควบคุมการพูดและภาษาให้ถนัดขวา โดยประมาณ 85% ของมนุษย์จะถนัดขวา ทฤษฎีนี้จึงอธิบายด้วยว่า ทำไมคนส่วนน้อยอีก 15% จึงถนัดมือซ้าย

    ทฤษฎีนี้ยังอธิบายสาเหตุของการถนัดมือด้วย ยีน ชื่อว่า C gene ซึ่งพบได้ในคนถนัดซ้ายส่วนมากและคนถนัดขวาบางคน นักวิจัยได้บันทึกว่ายีนนี้ถูกควบคุมการแสดงออกโดยวัฒนธรรมและความกดดันของสังคม ทฤษฎีนี้จึงสามารถอธิบายได้ถึงการที่พ่อและแม่ถนัดมือซ้าย มีลูกที่ถนัดมือขวา หรือ พ่อแม่ที่ถนัดมือขวามีลูกที่ถนัดมือซ้าย
ถ้าปริมาณยีนทุกยีน (gene pool) ของแต่ละครอบครัวมี C gene ดังนั้นการถนัดมือใดจึงขึ้นอยู่กับการฝึกของครอบครัวและสิ่งแวดล้อมภายนอก ที่เอื้อประโยชน์ต่อการถนัดของมือใดมือหนึ่ง

    locus ที่ควบคุมการแสดงออกเกี่ยวกับการถนัดมือ จะบรรจุยีนที่มี 2 อัลลีล คือ C และ D ซึ่งได้มาจากพ่อและแม่อย่างละอัลลีล คนที่มีลักษณะ DD จะถนัดขวา คนที่มีลักษณะ DC ส่วนมากจะถนัดขวาและคนที่มียีน CC อาจจะถนัดมือซ้ายหรือไม่ก็มือขวา การเข้าคู่กันของลักษณะเช่นนี้ส่งผลให้มีประชากรมนุษย์ที่ถนัดขวามากกว่า และมีส่วนน้อยซึ่งยังคงมีอยู่ที่ถนัดซ้าย

ที่มา:หนังสือพิมพ์บ้านเมือง -- พฤหัสบดีที่ 3 มกราคม 2556

ประวัติ"วันครู"แห่งชาติ


วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษาและวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุม จรรยาและวินัยของครูรักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัว ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู
ด้วยเหตุนี้ในทุกปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และชักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา
ปี พ.ศ. 2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า
"ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณ เป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมี สักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพ สักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับ คนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละ ทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง"
จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆ ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึก ถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดี เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมากในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอ คณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริม ความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน
    ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2499 ให้วันที่ 16 มกราคมของทุกปีเป็น “วันครู” โดย เอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2488 เป็นวันครูและให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดัง กล่าวได้ 
ที่มา:wikipedia
         DMC




วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556

มหัศจรรย์แห่งชีวิต:อยู่ได้ด้วยพิษ

จีเอฟเอเจ-1 (GFAJ-1) สิ่งมีชีวิตซึ่งเติบโตด้วยสารหนู

           นักวิทยาศาสตร์ได้ทดสอบสภาพแวดล้อมของทะเลสาบโมโนในแคลิฟอร์เนีย และได้ค้นพบจุลินทรีย์ชนิดใหม่ การค้นพบนี้ได้เขย่าวงการชีววิทยาอย่างแรงถึงนิยามของสิ่งมีชีวิต ซึ่งส่งผลต่อการวางเป้าหมายในการค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลกอีกด้วย
          คาร์บอน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน ออกซิเจน ฟอสฟอรัส และกำมะถัน เป็นธาตุพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตบนโลก ฟอสฟอรัสเป็นส่วนประกอบสำคัญของแกนดีเอ็นเอและอาร์เอ็นเอ ซึ่งเป็นโครงสร้างที่บรรจุรหัสพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด และถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของเซลสิ่งมีชีวิต

           ฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบหลักของโมเลกุลที่ส่งผ่านพลังงานในทุกเซล และเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในเยื่อหุ้มเซล ส่วนสารหนูซึ่งมีสมบัติทางเคมีใกล้เคียงฟอสฟอรัสเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตเกือบทุกชนิดบนโลก สารชนิดนี้จะขัดขวางเส้นทางการเผาผลาญอาหารเนื่องจากมีสมบัติทางเคมีคล้ายฟอสเฟต แต่จุลลินทรีย์ที่พบใหม่ในครั้งนี้กลับเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้ด้วยการใช้สารหนูซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นสารพิษร้ายแรงมาทดแทนฟอสฟอรัสในส่วนประกอบของเซล
          "นิยามของสิ่งมีชีวิตต้องมีการขยายความกันแล้ว" เอ็ด ไวเลอร์ ผู้บริหารจากนาซากล่าว "การที่ตอนนี้เรามีภารกิจค้นหาสิ่งมีชีวิตบนดาวดวงอื่นในระบบสุริยะ ทำให้เราต้องทบทวนถึงเป้าหมายเราว่า สิ่งที่เราต้องการมองหาคืออะไรบ้าง"
          "เราทราบมาก่อนว่า จุลินทรีย์บางชนิดก็หายใจเอาสารหนูเข้าไปได้ แต่ที่เอาสารหนูไปเป็นองค์ประกอบของร่างกายอย่างที่พบในครั้งนี้ เราเพิ่งเคยเจอ" เฟลิซา วอล์ฟ-ไซมอน นักชีววิทยานอกโลกจากนาซากล่าว 

            สิ่งมีชีวิตที่พบในครั้งนี้ เป็นแบคทีเรียกลุ่ม แกมมาโปรทีโอแบคทีเรีย สายพันธุ์ จีเอฟเอเจ-1 (GFAJ-1)  ในห้องทดลอง นักวิทยาศาสตร์เคยเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์จากทะเลสาบนี้โดยให้อยู่ในสภาพขาดแคลนฟอสฟอรัส เมื่อเติมสารหนูเข้าไปแทนที่ฟอสฟอรัส กลับพบว่าจุลินทรีย์นั้นยังคงเติบโตต่อไปได้ ยิ่งกว่านั้นเซลยังดึงเอาสารหนูไปเป็นส่วนประกอบของเซลใหม่อีกด้วย
          ประเด็นหลักที่นักวิทยาศาสตร์คณะนี้กำลังค้นคว้าอยู่ก็คือ เมื่อจุลินทรีย์นี้โตขึ้นด้วยสารหนูแล้ว สารหนูได้กลายมาเป็นกลไกชีวเคมีสำคัญของชีวิต เช่น ดีเอ็นเอ โปรตีน และเยื่อหุ้มเซลหรือไม่ 

           การค้นพบครั้งนี้มีผลกระทบต่องานวิจัยในหลายสาขา รวมถึงวิวัฒนาการโลก เคมีอินทรีย์, วัฏจักรชีวธรณีเคมี, การบรรเทาโรค  นอกจากนี้ยังเปิดหน้าต่างวิทยาการใหม่ในด้านจุลชีววิทยาและงานวิจัยด้านอื่นอีกด้วย


ตีพิมพ์การค้นพบ:NASA Headquarters, Washington, D.C. — Published: December 2, 2010

                                                      ที่มา:Researchers discover that deadly arsenic breathes life into organisms          
                                                           :สมาคมดาราศาสตร์ไทย

สิ่งที่ควรรู้สำหรับการฝึก “สุนัข”


1.ลำดับความสำคัญของสมาชิกในบ้าน
     สุนัขที่หลายคนเลี้ยงไว้นั้น  คุณๆทั้งหลายอาจคิดว่าสุนัขเป็นสมาชิกในครอบครัวดั่งน้องชายน้องสาว หรือลูกชายลูกสาวที่ต้องอยู่ในการปกครองของเราเสมอนั้น  สิ่งเหล่านั้นเป็นความคิดที่ผิด โดยสุนัขนั้นมีความสามารถในการจัดลำดับเอง เขาจะเคารพและเชื่อฟังเฉพาะคนที่สำคัญและควรเคารพ ส่วนเด็กๆนั้นสุนัขมักจะจัดอันดับเด็กๆในบ้านให้มีอันดับต่ำกว่าหรือรองลงมากว่าตัวเขาเองเสมอเขาจะไม่ค่อยเชื่อฟังเด็กๆ(เมื่อยังไม่ได้รับการฝึก)เพราะฉะนั้นเราต้องพึงระวังถึงข้อนี้

2.ช่วงการฝึก
     ดั่งสุภาษิต ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยากคือเราต้องเริ่มฝึกสุนัขหลังจากเขาเกิดมาประมาณ 7 ถึง 12 สัปดาห์ จะเป็นช่วงที่ดีที่สุดในการฝึกลูกสุนัขให้เรียนรู้สิ่งต่างๆ หากปล่อยไว้ให้ลูกสุนัขมีอายุมากกว่านี้อาจเกิดความลำบากในการฝึก ลูกสุนัขจะชินกับพฤติกรรมเดิมๆที่ไม่ดีโดยไม่ได้รับการแก้ไข อาจรุนแรงถึงขั้นแก้ไขไม่ได้ ลูกสุนัขที่ถูกฝึกตั้งแต่ยังเล็กจะไม่ต่อต้านคำสั่ง ไม่ว่าจะฝึกอย่างไรก็สามารถควบคุมได้

3.ความเป็นผู้นำ
การแสดงความเป็นผู้นำและความเป็นเจ้าของกับลูกสุนัขนั้น ไม่ไช่เป็นการขู่ด้วยความกลัว หรือการทำร้ายทางร่างกาย แต่เป็นการวางตัวของผู้เป็นนายอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอทำให้ดูน่าเกรงขามน่าเคารพ ลูกสุนัขจะรู้ได้ด้วยตัวของเขาเอง การเป็นผู้นำที่ถูกต้องนั้นต้องสามารถทำให้สุนัขชินกับสิ่งที่เขาเกลียดให้ได้ และต้องเล่นกับสุนัขอย่างถูกวิธี